วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2550

What is Kodokan Judo?


อันโคโดกันยูโด ในปัจจุบันนี้นั้นเนื่องมาจากญูญิตสู jujitsu หรือญูญัตสู ของประเทศญี่ปุ่นแต่โบราณกาล ครั้นต่อมาวิธีการของญูญิตสูได้มีการปรับปรุงจัดเป็นระบบมาตรฐานอันแน่นอนแล้วหล่อหลอมให้กลมกลืนกันเข้าจนเกิดเป็นอุดมการณ์ขึ้นมาอันหนึ่งและสิ่งซึ่งกล่าวนี้ก็คือโคโดกันยูโดนั่นเอง หรืออีกนัยหนึ่งอาจกล่าวว่าโคโดกันยูโดนั้นได้ปฏิรูปความหมายของคำว่า ญิตสู jitsu คือศิลปะ art ให้มาเป็นคำว่า โด do คือ ทาง way หรือหลักการ principle ก็ได้
ถ้าหากจะสืบสาวต่อไปอีกว่าญูญิตสู นั่นคืออะไร สำหรับเรื่องนี้เป็นที่รู้กันแพร่หลายสำหรับชาวญี่ปุ่นว่าหมายถึงศิลปะของการต่อสู้เพื่อป้องกันอันตรายจากศัตรู ซึ่งมีสำนักฝึกสอนอยู่หลายแห่งด้วยกัน โดยต่างฝ่ายต่างกำหนดวิธีการของตนขึ้นเป็นเอกเทศ ด้วยเหตุนี้การเรียกชื่อศิลปะอันนี้จึงผิดเพี้ยนกันอยู่บ้าง เช่น ยาวารา yawara ไทญิตสึ taijutsu วาญิตสึ wajutsu โทรีเต้ torite โกกุโซกุ kogusoku เคมโป kempo ฮากูด้า hakuda กูมุยจิ kumiuchi ซูบากุ shubaku และ โกชิโนมาวาริ koshinoma wari เป็นต้น ซึ่งญูญิตสูก็เป็นศิลปะของการต่อสู้เพื่อป้องกันอันตรายทำนองเดียวกับศิลปะดังกล่าวมาแล้วนี้เช่นกัน
ส่วนกรณีที่ญูญิตสูจะเกิดมีขึ้นแต่เมื่อใดนั้น เนื่องจากศิลปะอันนี้เกิดมีมาแต่โบราณกาลเป็นระยะเวลาอันยาวนานจนมิสามารถที่จะปริมาณกาลลงให้แน่นอนได้ แต่พอมีเค้าจากบันทึกเหตุการณ์อันเป็นจดหมายเหตุของญี่ปุ่น The chronicle of japan ชื่อ นิฮอนโชกิ nihon shoki ว่ามีประวัติศาสตร์ซึ่งรวบรวมขึ้นจากราชโองการของสมเด็จพระจักรพรรดิในปี ค.ศ. 720 กล่าวถึงการต่อสู้ชนิดหนึ่งชื่อว่า ชิการา-กูราเบ chikara-kurabe หมายถึงการประลองกำลัง contest of strength ซึ่งจัดขึ้นในปีที่ 7 สมัยสมเด็จพระจักรพรรดิสุอีนิน emperor suinin เมื่อก่อนคริสตศักราช 230 ปี ถึงแม้ความเกี่ยวโยงระหว่างชิการา-กูราเบ กับซูโม่และญูญิตสู จะยังอยู่ในลักษณะเป็นปัญหาก็ตามที แต่เนื่องด้วยลักษณะของกีฬาทั้ง 3 ประเภทดังกล่าวมาแล้ว มีบางสิ่งบางอย่างที่คล้ายคลึงกันอยู่บ้างและเกี่ยวกับคำว่า ยาวารา yawara ปรากฏในนิทานวรรณคดีของญี่ปุ่น เรื่องโคนยากุโมโนกาตาริ konjaku-monogatari กล่าวกันว่าขึ้นในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 11 คำว่ายาวาราในนิทานนั้นพบว่ามีเรื่องของกีฬาซูโม่อยู่ด้วย ทั้งนี้ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีสิ่งยืนยันว่าซูโม่เนื่องจากชิการา-กูราเบ และญูญิตสู เนื่องจากซูโม่ก็ตามที แต่ก็เรียกความสนใจของนักประวัติศาสตร์ในกีฬาญูญิตสูอยู่ไม่น้อย
วิวัฒนาการของโคโดกันยูโด

THE DEVELOPMENT OF THE KODOKAN JUDO

เพื่อที่จะทราบว่าโคโดกันยูโดมีความเป็นมาโดยลำดับอย่างไร เห็นว่าถ้าได้นำสภาพเหตุการณ์ในประเทศญี่ปุ่นสมัยนั้นมาเล่าไว้ก่อนแล้วจะช่วยให้เข้าใจดีขึ้น
ในค.ศ. 1868 ประเทศญี่ปุ่นได้มีการปฏิรูปสวัสดิภาพสังคมและการเมืองหลายประการ อาทิ เช่นระบบโตกูกาวาโชกุนาเต tokukawa shogunate (ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน) ได้เลิกล้มไป โดยมีระบบจักรพรรดิ imperial rule เข้ามาแทน สถานการณ์บ้านเมืองสงบราบคาบ ประเทศญี่ปุ่นจึงหันเข้าหาวัฒนธรรมของอารยะประเทศตะวันตก มียุโรปและอเมริกาเป็นต้น

ใน ค.ศ. 1871 ได้มีการบัญญัติห้ามมิให้ซามูไร samurai (นักรบ) มีดาบประจำตัวเหมือนสมัยก่อน เป็นเหตุให้ศิลปการต่อสู้นานาชนิดรวมทั้งญูญิตสูด้วยต้องซบเซาลง สถาบันฝึกสอนวิชาเหล่านี้ซึ่งมีอยู่แพร่หลายได้รับความกระทบกระเทือนถึงแก่เลิกล้มไปก็มี
สมัยนั้นท่าจิโกโรคาโน่ ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ.1860 ร เมืองชิโอโกะซึ่งตั้งอยู่ชายทะเลใกล้เมืองโกเบ ได้ถูกครอบครัวของท่านอพยพมาอยู่ในกรุงโตเกียวเมื่อ ค.ศ. 1871 ครั้นท่านเจริญวัยมีอายุได้ 18 ปี ได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยโตเกียวอิมพีเรียล Tokyo imperial university ท่านผู้นี้ร่างเล็กและบอบบางแต่มีนิสัยไม่ยอมให้ใครข่มเหง พร้อมด้วยมีความปรารถนาอันแรงกล้าในอันที่จะเป็นคนแข็งแรง เมื่อทราบวิธีการของญูญิตสูว่าสามารถทำให้คนร่างเล็กต่อสู้กับคนร่างกายใหญ่กว่าได้ จึงสนใจเข้าศึกษาวิชาญูญิตสู แต่ประจวยด้วยขณะนั้นญูญิตสูกำลังซบเซาดังกล่าวข้างต้น แต่เนื่องด้วยมีความสนใจจึงพยายามเข้าศึกษาญูญิตสูเบื้องต้นกับอาจารย์ทีอิโนสุเกะยากิ teino suke yagi และต่อมาได้เข้าศึกษากับอาจารย์ มาซาโทโมอิโซ masa tomo iso โดยลำดับ อาจารย์ทั้ง 2 ได้ถ่ายทอดวชาญูญิตสูให้แก่ท่าน จิโกโร่คาโน่ เป็นอย่างดี
ในค.ศ. 1882 ท่านจิโกโร่คาโน่มีอายุได้ 23 ปี ได้ริเริ่มตั้งสถาบันสำหรับฝึกสอนวิชานี้ขึ้นเป็นแห่งแรก ในบิรเวรวุทธศาสนามีชื่อว่า อิโช eisho ซึ่งวัดนี้ตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว และในโอกาสเดียวกันนี้ได้เปลี่ยนชื่อญูญิตสูเป็นยูโดด้วย
ตลอดเวลาที่ได้ก่อตั้งสถาบันโคโดกันยูโดขึ้นแล้ว ท่านจิโกโร่คาโน่ได้พยายามปรับปรุงแก้ไขยูโดให้วิวัฒนาการทันสมัยขึ้นโดยลำดับ ได้สอดแทรกวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ มีวิชาคณิตศาสตร์ประยุคเกี่ยวแก่อาการเคลื่อนไหว me-chanics และวิชาว่าด้วยสภาพความเป็นอยู่มีตรรกวิทยา จิตวิทยา จริยศาสตร์ โดยยึดธรรมเป็นหลักรวมเรียกว่าปรัชญศาสตร์ philosophy ซึ่งท่านมีความแตกฉานเป็นพิเศษ จนกระทั่งได้รับความนิยมยกย่องว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในวิชานี้
สมัยที่สถาบันโคโดกันเพิ่งตั้งใหม่ๆ มีเสื่อยูโด tatami เพียง 12 ผืน ที่ฝึกมีเนื้อที่ 12x18 ฟิต มีนักยูโดอยู่ 9 คนเท่านั้น
การปฏิรูปญูญิตสูมาเป็นยูโดนั้น เนื่องจากวิธีการของญูญิตสูมีมาก่อนตลอดจนเป็นที่นิยมกันแพร่หลายช้านาน ดังนั้นท่านจิโกโร่คาโน่จึงต้องฝ่าฟันอุปสรรคนานาประการ จนกระทั่งใน ค.ศ. 1886 กรมตำรวจแห่งประเทศญี่ปุ่นได้จัดให้มีการแข่งขันระหว่างนักญูญิตสูกับนักยูโดขึ้นเป็นครั้งแรก การแข่งขันครั้งนั้นจัดเป็นฝ่ายละ 15 คน ผลการแข่งขันปรากฏว่าฝ่ายของยูโดชนะของโคโดกันชนะ 13 คน เสมอ 2 คน ผลการแข่งขันครั้งนี้แสดงว่าฝ่ายยูโดมีสมรรถภาพ ทำให้อุปสรรคดังกล่าวข้างต้นคลี่คลายลงด้วยดี นับแต่นั้นมาโคโดกันยูโดก็เป็นที่นิยมแพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว
ใน ค.ศ. 1898 ท่านจิโกโร่คาโนได้เคยชี้แจงแก่บรรดาผู้ที่สนใจในวิชาญูญิตสู มีใจความว่า“ขณะที่ข้าพเจ้าศึกษาญูญิตสูอยู่นั้น ข้าพเจ้ามิได้เพียงแต่พอใจอย่างเดียวเท่านั้น ข้าพเจ้ายังรู้สึกว่าญูญิตสูสามารถฝึกฝนจิตใจและร่างกายได้อีกด้วย ข้าพเจ้าจึงควรจะศึกษาให้ลึกซึ้งและปรับปรุงให้รัดกุมยิ่งขึ้น เพราะว่าสภาพของญูญิตสูเท่าที่เป็นอยู่ยังไม่เหมาะสมในด้านพลศึกษาอันสมบูรณ์ ทั้งนี้เพื่อจะได้เผยแพร่ให้อยู่ในความนิยมของประชาชนสืบไป จึงได้พยายามปรับปรุง วางมาตรการณ์ พร้อมด้วยสอดแทรกวิทยาศาสตร์แผนใหม่ให้บังเกิดผลในด้านพลศึกษากล่าวคือบริหารจิตใจและร่างกายให้มีประสิทธิภาพสืบไป และได้ถือโอกาสขนานนามวิชานี้ว่า โคโดกันยูโด kodo kan judo ด้วย”

สถาบันโคโดกันยูโดได้ดำเนินมาด้วยดีและเข้าสู่มาตรฐานอันสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1922 และในปีเดียวกันนี้ได้ตั้งสังคมวัฒนธรรม the kodokan cultural society ขึ้นพร้อมวางแนวเผยแพร่ยูโดในอุดมคติว่า “ประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อประโยชน์สุขร่วมกัน” maximum dfficiency mutual welfare and benefit ซึ่งตรงกับภาษญี่ปุ่นว่า “seiryoku zenyo” “jita kyoei”
อนึ่งเนื่องด้วยมีผู้เข้าใจคลาดเคลื่อนกันไปว่ายูโดนั้น คือมวยปล้ำบ้าง มวยญี่ปุ่นบ้าง ถึงแก่เรียกว่ามวยญูญิตสูหรือมวยยูโดก็มี ความหมายอันถูกต้องนั้น ท่านปรมาจารย์ จิโกดร่คาโน่ได้นิยามว่า yokusinsin no chikarao ooyosu ruwa iwaku kor jupo nari แปลเป็นภาษาไทยว่า “การรู้จักใช้พลังแห่งจิตใย และร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น คือยูโด”



สถาบันโคโดกันยูโดของประเทศญี่ปุ่นนั้น นับแต่เริ่มตั้งมาจนถึงปัจจุบันนี้ ได้มีการย้ายสถานที่หลายแห่ง เพื่อความเหมาะสมโดยลำดับดังนี้
1. เริ่มแรกตั้งขึ้นในบริเวณวัดพุทธศาสนาชื่ออิโช eisho นครโตเกียว เมื่อค.ศ.1882 มีเสื่อยูโดประมาณ 12 ผืน
2. เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1883 ย้ายมาตั้งอยู่ที่โคบุนคัน นครโตเกียวมีเสื่อยูโดประมาณ 10 ผืน
3. เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1883 ย้ายมาตั้งในบ้านของท่านจิโกโร่คาโน่ที่คามินิบันโจ นครโตเกียวมีเสื่อยูโดประมาณ 20 ผืน
4. เมื่อฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1886 ย้ายมาตั้งที่บ้านของนายซีนาคาวาที่ฟูยิมิ-โช นครโตเกียวมีเสื่อยูโดประมาณ 40 ผืน
5. เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1889 ย้ายมาตั้งที่มาซาโกจิ นครโตเกียวมีเสื่อยูโดประมาณ 60 ผืน
6. เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1893 ย้ายมาที่ชิโม-โตมิซาก้า นครโตเกียว มีเสื่อยูโด 107 ผืน ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1960 มีเสื่อยูโดเพิ่มเป็น 207 ผืน
7. เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1907 ย้ายมาที่ โอจือกาซากาซีต้า นครโตเกียว มีเสื่อยูโด 207 ผืน
8. เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1933 ย้ายมาอยู่ที่ซุยโดบาชิอยู่ในนครโตเกียว มีเสื่อยูโด 514 ผืน
9. ในค.ศ. 1985 ได้ย้ายมาอยู่ที่ กาซือกาโจบันโยกุ kasukacho bunkoyku ในนครโตเกียวและยังคงตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้ แบ่งห้องฝึกเป็น 7 ห้อง คือ ห้องขนาดใหญ่ ปูเสื่อยูโด 500 ผืน จำนวน 1 ห้อง ห้องขนาดกลางปูเสื่อยูโด 108 ผืนจำนวน 3 ห้อง ห้องขนาดย่อมมีเสื่อยูโด 50 ผืน จำนวน 3 ห้อง
ชั้นบนอาคารหลังนี้จัดเป็นสถานที่สำหรับรับรองนักยูโดที่ประสงค์จะพัก ณ สถาบันโคโด
กันแห่งนี้ด้วย
ตั้งแต่เริ่มตั้งสถาบันโคโดกันยูโดจนปัจจุบันนี้ มีผู้ดำรงตำแหน่งประธาน 3 ท่านโดยลำดับดังนี้
ประธานคนแรก ท่านจิโกโร่คาโน่
ประธานคนที่ 2 ท่านงันยโร
ประธานคนที่ 3 ท่านริเซ่คาโน
สถาบันโคโดกันยูโดตั้งแต่เริ่มตั้งมาได้ผลิตนักยูโดทรงคุณวุฒิชั้นสูง คือสายดำชั้น 10 judan (สายคาดเอวสีแดงตลอดสาย) มีจำนวน 8 ท่าน มีรายนามดังต่อไปนี้
1. ทามาต้าโซมาโร
2. อิอิซือก้าฟูงิ ซาบุโร
3. ยามาชิตะโมซีอาคิ
4. อิโซไกฮาจิบุ
5. นางาโอก้า
6. ซามูราคาอิจิโร
7. กิวโซ่มิฟูเน่
8. ท่านจิโกโร่คาโน่ โดยเฉพาะผู้นี้นอกจากทรงคุณวุฒิวิชายูโดสายดำชั้น 10 แล้ว ยังได้สมัญญาว่า greater of judo and founder of the kodokan และได้รับการยกย่องให้เป็นปรมาจารย์ในวิชายูโด คือใช้คำว่า shi-han นำหน้านามของท่าน คือ ชิฮัง-คาโน และยังหล่อรูปท่านประดิษฐานไว้ ณ สถาบันโคโดกันในปัจจุบัน เพื่อคารวะอีกด้วย

ญูญิตสูและยูโดแพร่มาสู่ประเทศไทย

เพื่อความเป็นกิจจะลักษณะเกี่ยวกับเรื่องนี้ จะได้แยกกล่าวเป็นด้าน ๆ ดังต่อไปนี้
ด้านประชาชน
ปรากฏว่าเมื่อประมาณ พ.ศ. 2450 มีชนชาติญี่ปุ่นชื่อมิสเตอร์กิโยฟู-ยี kiyofuji มาประกอบอาชีพในประเทศไทย โดยทำงานที่บริษัทมิตซุยมุสซันไกชา ตั้งอยู่ที่ตำบลบางรัก จังหวัดพระนคร ท่านผู้นี้มีความรู้ในวิชาญูญิตสูได้นำวิชานี้มาเผยแพร่แก่บรรดาเพื่อนที่ทำงานร่วมกันตลอดจนผู้ที่สนใจ ปรากฏว่าแม้แต่นายกองตระเวนสมัยนั้นก็เคยไปรับการฝึกสอนมีอาทิ เช่น นายแต้ม เสวาภัยเป็นต้น ท่านผู้นี้ต่อมาได้รับพระราชทานยศพันตำรวจตรี และบรรดาศักดิ์เป็นหลวงศรีสารวัตร์
ต่อมาปรากฏว่ามีชนชาติญี่ปุ่นอีกผู้หนึ่งชื่อมิสเตอร์เอนโด endo มาประกอบอาชีพทางทันตแพทย์อยู่ในประเทศไทย และเป็นผู้มีความรู้ในวิชาญูญิตสูเช่นเดียวกันได้ช่วยเหลือมิสเตอร์กิโยฟูยีฝึกสอนด้วย
ท่านที่กล่าวนามมาแล้วทั้ง 2 ได้ร่วมกันเผยแพร่วิชาญูญิตสูในประเทศไทยจวบจนอวสานแห่งชีวิต อัฐิของท่านทั้ง 2 ขณะนี้เก็บอยู่ ณ ศาลาแบบญี่ปุ่นซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณวัดราชบุรณะราชวรวิหาร (วัดเลียบ) ในปัจจุบันนี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับมิสเตอร์กิโยฟูยีนั้นนับได้ว่าเป็นชนชาติญี่ปุ่นที่ริเริ่มนำวิชาญูญิตสูมาเผยแพร่ในประเทศไทยด้านประชาชนเป็นคนแรก ด้วยเหตุนี้โอกาสที่ชาวญี่ปุ่นในประเทศไทยประกอบพิธีทำบุญอัฐิของชาวญี่ปุ่นซึ่งถึงแก่กรรมในประเทศไทย ณ ศาลาญี่ปุ่น วัดราชบุรณะราชวรวิหารปีละ 2 ครั้ง สมคมยูโดสมัครเล่นแห่งประเทศไทย จึงจัดพวงมาลาไปคาราวะอัฐิของมิสเตอร์กิโยฟูยี และมิสเตอร์ เอนโด ตลอดมา

ใน พ.ศ. 2473 มีชนชาติญี่ปุ่นชื่อมิสเตอร์ ที ฮีดากา มาประกอบอาชีพทางค้าขายในประเทศไทย ท่านผู้นี้มีความรู้ในวิชาญูญิตสูและรู้จักกับมิสเตอร์กิโยฟูยี และทันตแพทย์เอนโด เมื่อมิสเตอร์กิโยฟูยีและเอนโดถึงแก่กรรมแล้ว มิสเตอร์ ที. ฮีดากาได้รับช่วงเผยแพร่วิชานี้สืบมา
ใน พ.ศ. 2479 มิสเตอร์ ที ฮีดากา ได้ตั้งสถาบันฝึกสอนวิชาญูญิตสูแก่ประชาชนขึ้นเป็นแห่งแรกชื่อว่า เรนบูกัน renvu kan ตั้งอยู่ในซอยกินเดอร์ ตรงข้ามที่ทำการไปรษณีย์บางรัก ถนนเจริญกรุง จังหวัดพระนคร
ใน พ.ศ. 2482 ได้มีการแข่งขันญูญิตสูเป็นทีมๆละ 5 คน เพื่อชิงธงของสโมสรญี่ปุ่นแห่งประเทศไทย นักญูญิตสูที่เคยรับการฝึกในสถาบันเรนบูกัน เข้าแข่งจำนวน 5 คน คือ
สมศักดิ์ กิติตสาธร
จริวัฒน์ นาคะโมทย์
ทนง ชุมสาย
กีด้ง (ไม่ทราบนามสกุล)
สงวน (ไม่ทราบนามสกุล)
ทีมนี้ชนะเลิศได้รับธงของสโมสรญี่ปุ่น
ในพ.ศ. 2484 มีการแข่งขันยูโดที่ประเทศญี่ปุ่น หนังสือพิมพ์ไมนิชิ ชิมบุนประเทศญี่ปุ่นได้ติดต่อให้สถาบันเรนบูกัน ส่งนักยูโดไทยไปร่วมแข่งขัน สถาบันเรนบูกันได้ส่งนักยูโดไทยไปแข่งขัน 5 คน คือ
สมศักดิ์ กิติสาธร
จำรัส ศุภวงศ์ (ปัจจุบันนาวาอากาศเอก)
ประจันต์ วัชรป่าน (ปัจจุบันนาวาอากาศตรี)
จิรวัฒน์ นาคะโมทย์ และ
ทะนง ชุมสาย
นักยูโดไทยทั้ง 5 มีสมรรถภาพดี ในการแข่งขันครั้งกระนั้นจนสถาบันโคโดกันยูโดประเทศญี่ปุ่นยกย่องและเลื่อน วิทยฐานะให้เป็นนักยูโดสายดำชั้น 1 sho-dan ทุกคน
ใน พ.ศ. 2498 พลตำรวจจัตวา มงคล จีระเศรษฐ ได้จัดตั้งสมาคมยูโดสมัครเล่น แห่งประเทศไทยขึ้น โดยได้อนุมัติจากสภาวัฒนธรรมให้เป็นสมาคมโดยสมบูรณ์แบบ ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 และต่อมาใน พ.ศ. 2505 กรมพลศึกษากระทรวงศึกษาธิการ และองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยได้กรุณาอุดหนุนเช่นเดียวกับสมาคมกีฬาสมัครเล่นอื่น ๆ ตลอดจนคณะกรรมการกีฬาโอลิมปิคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ รับรองว่าเป็นสมาคมกีฬาสมัครเล่นอันสมบูรณ์แบบตั้งแต่ พ.ศ. 2505 เป็นต้นมา อนึ่งสมาคมยูโดสมัครเล่นแห่งประเทศไทยนี้ ได้เข้าร่วมอยู่ในสหพันธ์ยูโดนานาชาติแห่งเอเชีย A.J.F. มาแต่ พ.ศ. 2499 และต่อมาก็ได้ร่วมอยู่ในสหพันธ์ยูโดสากล I.J.F. ด้วย
สมาคมยูโดสมัครเล่นแห่งประเทศไทยยังไม่มีสำนักงานของสมาคมเองโดยเฉพาะ มีแต่เพียงสำนักงานชั่วคราวและต้องระหกระเหินมาโดยลำดับ คือ
แห่งแรก ตั้งที่ห้องเขียนแบบโรงเรียนช่างกลปทุมวัน ถนนพระราม 1 จังหวัดพระนคร โดยเปิดการฝึกสอนล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 และได้ประกอบพิธีเปิดสำนักงานสมาคมเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2499 มีท่านอธิการบดีกรมพลศึกษาและท่านอุปทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยสมัยนั้นเป็นประธาน พร้อมด้วยท่านผู้มีเกียรติเป็นจำนวนมาก เปิดครั้งมีสมาชิก 180 คน เป็นชาวต่างประเทศ29 คน ที่ฝึกมีเสื่อยูโด 80 ผืน
แห่งที่ 2 ต่อมาโรงเรียนช่างกลปุทมวันมีนักเรียนเพิ่มขึ้นต้องการที่เพื่อเพิ่มห้องเรียน สมาคมยูโดจึงย้ายสำนักงานชั่วคราวมาตั้งที่โรงซึกพลศึกษาของโรงเรียนตำรวจนครบางเก่า ในบริเวณกองทะเบียนกรมตำรวจตำบลปทุมวัน จังหวัดพระนคร เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2502 ที่ฝึกมีเสื่อยูโด 100 ผืน
แห่งที่ 3 ต่อมากรมตำรวจต้องการที่เพื่อขยายโรงพยาบาลตำรวจ สมาคมยูโดจึงย้ายสำนักงานชั่วคราวไปอยู่ที่สโมสรยูโดของโรงเรียนช่างกลปทุมวัน ถนนพระราม 1 จังหวัดพระนคร เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2507 ที่ฝึกปูเสื่อยูโดเป็น 2 ตอนๆละ 50 ผืน
แห่งที่ 4 ต่อมาโรงเรียนช่างกลปทุมวันดำริจะรื้อสโมสรยูโดของโรงเรียน เพื่อปรับปรุงสถานที่สมาคมยูโดจึงขอความกรุณาจากกรมพลศึกษา ย้ายที่ทำการชั่วคราว มาตั้งที่ชั้นล่างของยิมเนเซี่ยม 1 กรีฑาสถานแห่งชาติ ถนนพระราม 1 จังหวัดพระนคร เมื่อได้รับอนุมัติจากกรมพลศึกษาแล้วจึงย้ายที่ทำการชั่วคราวเมื่อเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2507 มีห้องฝึก 2 ห้อง คือ ห้องสำหรับฝึกสมาชิกใหม่มีเสื่อยูโด 50 ผืน ห้องสำหรับฝึกสมาชิกเก่ามีเสื่อยูโด 54 ผืน และยังคงตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้ การริเริ่มติดต่อจัดหา ดำเนินการขนย้าย และปรับปรุงสำนักงานชั่วคราวตลอดจนที่ฝึกทั้ง 4 แห่งดังกล่าวแล้ว ทางสมาคมยูโดสมัครเล่นแห่งประเทศไทยได้มอบให้พลตำรวจจัตวา มงคล จีระเศรษฐอุปนายกสมาคมยูโด ในสมัยนั้นเป็นผู้ดำเนินการ

ไม่มีความคิดเห็น: